คอลลาเจน (collagen) คืออะไร
คอลลาเจน เป็นโปรตีนที่พบมากที่สุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย โดยคิดเป็น 25% ถึง 35% ของปริมาณโปรตีนทั้งร่างกาย
คอลลาเจน คืออะไร ?
คอลลาเจน (Collgen) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีการรวมตัวของกรดอะมิโน (amino acid) หลายชนิดต่อกันเป็นสายยาว ที่สำคัญ ได้แก่ glycene prolene และ hydroxyprolene เส้นใยคอลลาเจนมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุลเกี่ยวพันกันมากมาย โดยปกติผิวหนังมีคอลลาเจนเป็นโครงสร้างอยู่มาก ผิวหนังของมนุษย์จึงมีความยืดหยุ่น แต่นอกจากผิวหนังแล้ว ร่างกายของมนุษย์เรายังมีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบของ กระดูกอ่อน เอ็นกล้ามเนื้อและกระดูก ข้อต่อ ขน เส้นผม รวมถึงเนื้อเยื่อทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งคอลลาเจนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เซลล์ยึดเกาะกัน
คอลลาเจน มีกี่ชนิด ?
จริง ๆ แล้ว คอลลาเจนมีมากกว่า 16 ชนิดด้วยกัน แต่ตัวหลัก ๆ ที่รู้จักกันทั่วไปมีอยู่ไม่กี่ชนิด ได้แก่
คอลลาเจนชนิดที่ 1 (Collagen Type I) หรือ คอลลาเจนไทพ์ 1
ส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มของสัตว์ชั้นสูง อยู่ในส่วนของหนังแท้ เอ็น พังผืด เนื้อกระดูกแข็ง สำหรับคอลลาเจนชนิดที่ 1 นี้จะประกอบไปด้วยกรดอะมิโนไกลซีน มีประมาณ 1 ใน 3 ของกรดอะมิโนทั้งหมด ส่วนของกรดอะมิโนที่ไม่บิดเป็นเกลียวสั้นที่ประกอบด้วยฮิสติดีน และไทโรซีน
คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) หรือ คอลลาเจนไทพ์ 2
เป็นคอลลาเจนชนิดเดียวกับที่พบในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ แตกต่างจากคอลลาเจนที่พบในเซลล์ผิวหนัง ซึ่งจะเป็นคอลลาเจนชนิดที่ 1, 3 และ 4 (Collagen type 2, III และ IV) คอลลาเจนไทพ์ทู จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของส่วนประกอบที่อยู่ในข้อ โดยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มระดับของกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อเลี้ยงในข้อ และยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำหล่อเลี้ยงข้อ มีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวดข้อและข้อยึดได้ ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้น
คอลลาเจนชนิดที่ 3 (Collagen Type III) หรือ คอลลาเจนไทพ์ 3
พบได้ปริมาณน้อย (ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์) มักพบในผิวหนังที่เริ่มมีการสร้างใหม่ เช่น ผิวหนังที่เป็นแผล หลอดเลือด ส่วนมากจะพบในผิวของเด็ก ผิวเด็กจึงดูนุ่มเนียน เต่งตึง
คอลลาเจนชนิดที่ 4 (Collagen Type IV) หรือ คอลลาเจนไทพ์ 4
คือคอลลาเจนที่มีลักษณะความจำเพาะ โดยพบได้เฉพาะบริเวณเส้นใยฝอยของเยื่อบุผิวแผ่นบาง ๆ ในบริเวณนอกเซลล์
ถ้าร่างกายขาดคอลลาเจนจะเป็นอย่างไร ?
- ผิวหนังแห้งกร้าน ไม่เต่งตึง ดูหยาบกระด้าง
- ริ้วรอยเหี่ยวย่น ดูแก่ก่อนวัย
- กระดูก และ ข้อต่อเสื่อม มีเสียงดังกร๊อบแกร๊บขณะเดินหรือลุก
- มีอาการเจ็บเข่า ปวดหลัง ปวดเอว
- ระบบไหลเวียนโลหิตเสื่อม
- การเผาผลาญไขมันด้อยลง ทำให้อ้วนง่าย
- สุขภาพโดยรวมไม่ดี
- บาดแผลหายช้า
- ผมไม่แข็งแรง ผมขาดหลุดร่วงง่าย